Penguin Listening Dancing To Music

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนวข้อสอบ 9 วิชาสามัญ

http://www.top-atutor.com/images/editor/


cr:http://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.top-atutor.com/images/editor/%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c1.png


วิทยาศาสตร์ : คิดเป็น 40% (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)

     -ชีวะ : เป็นข้อสอบที่มีจำนวนข้อเยอะที่สุดใน 3 แขนง ดังนั้นการทำข้อสอบชีวะจะต้อง speed test!! คือต้องรีบทำแข่งกับเวลาครับ ส่วนความลึกของข้อสอบชีวะนั้นไม่ได้ออกลึกมากมายอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องใช้การวิเคราะห์เข้ามาช่วยในการทำข้อสอบด้วย บางข้ออาจจะถามเรื่องที่เราคิดว่าง่าย ๆ ให้ดูยากไปเลยละถ้าน้องคิดไม่เป็น คำแนะนำของพี่คือ ไม่ต้องอ่านเนื้อหาละเอียดมาก เพราะข้อสอบออกไม่ลึก แต่อ่านให้เข้าใจถึงเหตุผลของเนื้อหาต่าง ๆ เพื่อที่จะได้นำมาประยุกต์ใช้ได้ และในห้องสอบข้อไหนทำไม่ได้ให้ข้ามไปก่อนแล้วค่อยกลับมาทำนะครับ เดี๋ยวจะทำไม่ทัน
 -เคมี : ความยาก ของวิชาเคมี 9 วิชาสามัญนั้นถือว่าไม่ยากมากเท่าไหร่ อีกทั้งยังมีจำนวนข้อที่ถือว่าไม่เยอะเมื่อเทียบกับชีวะ จึงเป็นข้อสอบส่วนที่น้อง ๆ ควรเก็บคะแนนให้ได้ดี ๆ เพราะเก็บคะแนนไม่ยากครับ บทที่ออกข้อสอบเยอะของแต่ละปีมักจะไม่ซ้ำกันเท่าไหร่ ดังนั้นพี่จะไม่ขอเก็งเรื่องที่ออกเยอะ ๆ แล้วกันนะครับ คำแนะนำของพี่คือ ทำโจทย์เยอะ ๆ โจทย์ PAT หรือ7 วิชาสามัญปีเก่า ๆ ทำเยอะ ๆ ครับ แล้วน้องจะสามารถทำข้อสอบเคมีได้ เพราะความยากของข้อสอบไม่หนีกับข้อสอบเก่าเท่าไหร่ครับ ข้อแนะนำอีกอย่างคือ อย่าทิ้งบทเล็ก ๆ เช่น โพลีเมอร์ การถลุงแร่ แม้บทพวกนี้จะออกข้อสอบน้อยแต่ถ้าออกมาเราจะเก็บคะแนนได้ง่ายมาก
     -ฟิสิกส์ : เป็นวิชาที่เด็กไทยจำนวนมากไม่ชอบ ไม่เข้าใจ และบอกว่ายาก....ซึ่งฟิสิกส์ในข้อสอบ 9 วิชาสามัญนั้นในปีหลัง ๆ มานี้ข้อสอบจะออกมาเพื่อวัดความเข้าใจมากขึ้น ไม่ใช่ลักษณะแบบแทนสูตรแล้วตอบ เหมือนเมื่อก่อน ซึ่งบางคนก็ชอบเพราะไม่ต้องคิดเลข แต่บางคนก็อาจจะไม่ชอบเพราะถนัดแทนสูตรแล้วตอบ คำแนะนำของพี่คือ ใครที่เรียนฟิสิกส์แบบแทนสูตรแล้วตอบให้รีบกลับไปอ่านใหม่อย่ารวดเร็ว และทำความเข้าใจที่มาของสูตร และการใช้สูตรให้ดี ๆ เพราะถ้าหวังจะแทนสูตรแล้วตอบน่าจะเป็นไปได้ยาก อีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผิดกันบ่อย ๆ คือไม่ดูค่าตัวแปรที่โจทย์กำหนดมาให้ เช่น g = 9.8 หรือ 10 ซึ่งจะทำให้ได้คำตอบผิด เสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้นอ่านค่าตัวแปรที่โจทย์กำหนดมาก่อนทำนะครับ

คณิตศาสตร์ : คิดเป็น 20 %
     ความยากของข้อสอบอาจจะไม่เท่า PAT 1 แต่อย่างไรก็ตามมีข้อควรระวังในการทำคือ อย่าสะเพร่า ! เพราะมันอาจมีกับดักซ่อนอยู่ในโจทย์ ดังนั้นพยายามอ่านโจทย์ดี ๆ ว่าโจทย์ถามอะไร และคิดเลขดี ๆ ถ้าเป็นไปได้ฝึกคิดเลขให้คล่อง ๆ ไว้เพื่อที่เวลาทำข้อสอบจะได้เสร็จเร็ว ๆ และมีเวลากลับมาทวนซ้ำป้องกันการสะเพร่า

     ส่วนเรื่องที่ออกข้อสอบเยอะ ๆ ก็ได้แก่ สถิติ ความน่าจะเป็น อนุกรม แคลคูลัส และลอการิทึม ให้อ่านเน้น ๆ เยอะ ๆ เป็นพิเศษเลย ส่วนบทเซต ตรรกศาสตร์ ออกน้อยอาจจะเอาไว้อ่านทีหลังได้ครับ

ภาษาอังกฤษ : คิดเป็น 20 %
     ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษนั้นเป็นแนว speed test อีกแล้วครับ ดังนั้นต้องทำแข่งกับเวลาดี ๆ นะ ซึ่งข้อสอบภาษาอังกฤษนั้นจะพยายามวัดทุก skill ของน้อง ๆ ไม่ว่าจะเป็น reading writing listening และ speaking ข้อสอบสามารถออกได้หลากหลายเพื่อวัดทักษะทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน
     Reading ข้อสอบจะมี บทความหลายบทความให้น้อง ๆ ได้อ่าน และตอบคำถาม คำแนะนำของพี่คือให้อ่านโจทย์ก่อนอ่านบทความ เพื่อที่เวลาเราอ่านบทความจะได้สแกนหาข้อมูลที่โจทย์ถามได้อย่างรวดเร็วเลย และข้อควรรู้อีกข้อหนึ่งคือ คำตอบที่โจทย์ถามมักจะเรียงกันในบทความอยู่แล้วเช่น คำถามข้อที่ 1 มักจะมีคำตอบอยู่ตอนต้นของบทความ ส่วนคำถามข้อหลัง ๆ ก็มักจะมีคำตอบอยู่ช่วงท้าย ๆ บทความ ดังนั้นสแกนให้ถูกจุด สแกนให้เร็วนะครับ
     Writing ข้อสอบพาร์ทนี้นั้นจะเป็น cloze test ซะส่วนใหญ่ครับ ซึ่งน้องต้องแม่นแกรมม่าหน่อยครับ หลักแกรมม่าที่ออกข้อสอบบ่อย ๆ ก็เช่น subject&verb agreement (ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ กริยาต้องมี s)Word form (ตรงไหนต้องใช้ adjective adverb หรือ noun)เป็นต้น
     Listening/Speaking ข้อสอบจะออกมาในรูปแบบของ conversation ที่อาจจะให้เติมคำตอบที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ ข้อควรระวังในการทำข้อสอบส่วนนี้คือ สำนวน (idioms) ! ที่น้อง ๆ หลายคนมักไม่แม่น ส่วน conversation แบบอื่นโดยส่วนมากไม่มีปัญหากันเท่าไหร่อยู่แล้ว ดังนั้นอ่านสำนวนไปเยอะ ๆ นะครับ

ภาษาไทย และสังคม : วิชาละ 10 % (รวมเป็น 20%)
     2 วิชานี้ส่วนมากน้อง ๆ จะทำไม่ค่อยได้ เพราะเด็กที่สอบส่วนใหญ่เป็นเด็กสายวิทย์ จึงไม่ค่อยถนัด 2 วิชานี้สักเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ตามหลาย ๆ ครั้งคะแนนของ 2 วิชานี้ก็ช่วยให้น้องสอบติดได้เลยนะถ้าวิชาอื่น ๆ น้องไม่ได้โดดเด่นเท่าไหร่
     ภาษาไทย ข้อสอบวิชานี้ไม่เน้นออกหลักภาษาเท่าไหร่นัก จะมีข้อสอบหลักภาษาอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ ๆ จะเป็นการวิเคราะห์มากกว่า เช่น การตีความจากบทความ การตีความจากกลอน หรือการตีความจากความหมายของผู้พูด ดังนั้นอ่านหลักภาษาไปบ้าง รวมกับทักษะทางด้านการตีความ เชื่อว่าน้อง ๆ จะสามารถทำวิชานี้ได้แน่นอน
     สังคม ข้อสอบวิชานี้นั้นออกได้หลากหลายอย่างมาก เนื้อหาครอบจักรวาลสุด ๆ จนไม่รู้จะแนะนำอย่างไร เอาเป็นว่าน้อง ๆ ไปตามอ่านข่าวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวทั้งข่าวสังคมทั่วไป ข่าวในพระราขสำนัก ข่าวของประเทศอื่น ๆ ตามเหตุการณ์บ้านเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปี เยอะ ๆ ก็น่าจะสามารถทำวิชานี้ได้
     นี่ก็เป็นคำแนะนำในการเตรียมสอบ 9 วิชาสามัญสำหรับน้อง ๆ ที่อยากเป็นหมอ นะครับ อีกข้อหนึ่งที่อยากฝากไว้คือ อย่าทิ้งวิชาใดวิชาหนึ่งมากเกินไป เพราะทุกวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 30% ไม่เช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิโดยอัตโนมัติ ก็คงน่าเสียดายถ้าถูกตัดสิทธิด้วยเหตุผลนี้นะครับ สุดท้ายนี้ก็ขอให้น้อง ๆ ทุกคนโชคดีในการสอบ สอบติดตามที่หวังทุกคนนะครับ

ใบงานที่ 3 ความรู้เรื่อง พรบ.คอมพิวเตอร์



พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2558 :



ใบงานที่ 2 ความรู้เรื่อง Blogger

cr: http://www.abbda.com/wp-content/uploads/2015/12/what-is-a-blog-600x325.jpg

Blog คืออะไร?

   บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
   คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง 
- โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger
- จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก


Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่ 
เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing



ข้อดีและข้อเสียของ Blog :

ข้อดี
- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ 
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้
เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ 
ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก

ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม cr: http://www.jojho.com/2013/05/what-is-blog.html




คู่มือการสร้างBlog :





cr:http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/new/km/download/%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%ad%e0%b8%81.pdf

การใส่ปฏิทินและนาฬิกา :


การสร้างงานต้องทำผ่าน แดชบอร์ด ตรงส่วน Layout หรือ รูปแบบ ซึ่งมีอยู่ใน Blogger เอง โดยมีวิธีการ ดำเนินการ ดังนี้

1.เปิด แดชบอร์ด ไปที่ Setting หรือส่วนการตั้งค่า

2.เลือกรายการ Layout หรือ รูปแบบ ที่ฝั่งซ้าย ดังภาพด้านล่าง เมื่อได้ Layout Page มาแล้ว ให้กำหนดตำแหน่งที่ท่านจะวาง ส่วนที่ใช้วาง code script
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiVj3Wuam1szvem1_wuj-TX1EXyqGRhXYn_H3Fvuwe740qGYDhEaj-eiw3RdoKVjCPovv_fgmoLXPjEb7rS9-bz91nV0P_OfKDGUm4DA14lRsd6hHuoo4jKgNSW_HUyR-uVT89P3kwCbes/s1600/

3. เมื่อกำหนดบริเวณได้แล้ว ให้คลิกเลือกรายการ Add a Gadget หรือ เพิ่ม Gadget ที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะเกิดหน้าต่าง Add a Gadget  เลือกหารายการ ที่ชื่อว่า HTML/Java Script  คลิกเลือกที่เครื่องหมาย +

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgr0wT1CcewjxPvdRngLi7uzzSQmTAs0P4IpLXskUwGad5416ev4qENnAoauElLz2dxQqPBBsdTk6LI6pYxWRyNj3JDvWZ4cYSXDnNl0xgKH802691a9Ab7vRyhEpboaDPg9Pee7C9TCYU/s1600/

4. จะเกิดกรอบหน้าต่างสำหรับวาง code script ดังภาพ

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh1UitWRFmj_CPDYjPWTq8QWx5ahgVtINfY7tpVnN-TStIVuckdjo1zehcPuBr4s5bPouRK8NyFPdcjG-GmDYCjvllQoVv_8sJuOlIpNgsBW5RIONXVp0aLAseFiUtFRJCzIVhP-gEpF8g/s1600/

5. ทำการตั้งชื่อ และนำ code ที่ต้องการวางลงในพื้นที่เขียน script
 
6. คลิกปุ่ม บันทึก แล้วปิดหน้าต่างได้
 
7. ตรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ ก็จะมีนาฬิการ หรือ ปฎิทิน แสดงผล ตามที่กำหนดไว้

ข้อมูลเพิ่มเติม cr:http://mediath3.blogspot.com/2016/02/blogger-20-code-2.html


การเปลี่ยนเมาส์ :

   1. ไปที่ blogger.com ล็อกอินเข้าหน้าแดชบอร์ด
  

     2. เลือกบล็อกที่เราจะเปลี่ยนรูปเมาส์ครับ แล้วกดลูกศรชี้ลงที่หมายเลข 4 ตามรูป


     3. เลือกแม่แบบครับ  เมื่อได้หน้าจอดังรูปข้างล่างแล้ว ก็กดตรง "แก้ไขHTML"


     4. ก็จะเข้าสู้หน้าจอเตือนการแก้ไข HTML ครับ หน้าจอนี้จะแจ้งเตือนทุกครั้ง ที่เราจะเข้าไปแก้ไข HTML ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บ หากทำสุ่มสี่สุ่มห้าไป อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหน้าเว็บบล็อกของเราได้ เขาเลยต้องเตือนไว้ก่อน แต่ไม่ต้องกลัวครับ ถ้าไม่ทำเกินที่ผมบอก รับรองไม่เป็นไร ก็เลือก "ดำเนินการ" ได้เลย


     5. พอเข้ามาแล้วก็เจอตัวยึกยือ ยึกยือเต็มไปหมดใช่ใหม่ครับ นี่แหละภาษา HTML บวกด้วย Java อย่าไปใส่ใจครับมองหาบรรทัดที่ 14 ที่จะเขียนว่า
     <title><.....................></title>           (ตรงจุดๆนั่นอาจจะไม่เหมือนกันครับ แต่ให้หาที่มี title ก็พอ
          สังเกตในรูปนะครับ ใต้บรรทัดที่ 14 จะมีบรรทัดว่างอยู่ 1 บรรทัด ให้เอาโค้ดที่เรา copy มา Paste ลงตรงนั้นเลยครับ จากนั้นก็กดบันทึกเทมเพลต

ข้อมูลเพิ่มเติม cr:http://newpublog.blogspot.com/2012/06/blog-post.html