Penguin Listening Dancing To Music

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 6 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์


แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6
ปีการศึกษา 2559




ชื่อโครงงาน ประโยชน์ของการอ่านหนังสือ




ชื่อผู้ทำโครงงาน

 ชื่อ นางสาวนิชาภา  คำเหลือง  เลขที่ 11 ชั้น ม.6 ห้อง 9





ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน   ครูเขื่อนทอง  มูลวรรณ์




ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2559





โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34  


ใบงาน
การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์

สมาชิกในกลุ่ม 
 ชื่อ นางสาวนิชาภา  คำเหลือง เลขที่ 11

 ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
ประโยชน์ของการอ่านหนังสือ

ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)                   

The benefits of reading.


ประเภทโครงงาน  โครงงานประเภททฤษฎี
ชื่อผู้ทำโครงงาน  นางสาวนิชาภา  คำเหลือง
ชื่อที่ปรึกษา  ครูเขื่อนทอง  มูลรรณ์
ระยะเวลาดำเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          เนื่องจากในสังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการแข่งขันส่งผลให้ผู้คนในยุคสมัยนี้มีความเครียดสะสมสูง จึงต้องการหาวิธีระบายความเครียดที่อยู่ในตัวออก ซึ่งการอ่านหนังสือก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้ในการคลายเครียดและไม่ต้องใช้แรงมากมายนอกจากการมีสมาธิเท่านั้น นอกจากนี้การอ่านหนังสือยังให้ประโยชน์ต่างๆมากมาย  

วัตถุประสงค์  
1.      เพื่อคลายเครียด
2.      เพื่อจะได้รู้ประโยชน์ของการ์ตูน

ขอบเขตโครงงาน
          โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

หลักการและทฤษฎี
หลักการทำงานของสมอง และ การลดความเครียด

วิธีดำเนินงาน
          แนวทางการดำเนินงาน
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
          เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________

          งบประมาณ
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
          ___________________________________________________________________
__________________________________________________________________
___________________________________________________________________

ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน

ลำดับ
ที่
ขั้นตอน
สัปดาห์ที่
ผู้รับผิดชอบ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17

1
คิดหัวข้อโครงงาน


















2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล


















3
จัดทำโครงร่างงาน


















4
ปฏิบัติการสร้างโครงงาน


















5
ปรับปรุงทดสอบ


















6
การทำเอกสารรายงาน


















7
ประเมินผลงาน


















8
นำเสนอโครงงาน





















ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________

 สถานที่ดำเนินการ

_________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________

กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
_________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________


แหล่งอ้างอิง
_________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________

ใบงานที่ 5 บทความสารคดีที่นำมาใช้สำหรับการเขียนโครงงาน


ความเครียด

ความเครียดคืออะไร
ความเครียดก็คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย นั่นเอง ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องมีอยู่เสมอในการดำรงชีวิต เช่น การทรงตัว เคลื่อนไหวทั่วๆไป มีการศึกษาพบว่าทุกครั้งที่เราคิดหรือมีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นจะต้องมีการหดตัว เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแห่งใดแห่งหนึ่ง ในร่างกายเกิดขึ้นควบคู่เสมอ
ความเครียด มีทั้งประโยชน์และโทษ แต่ความเครียดที่เป็นโทษนั้น เป็นความเครียดชนิดที่เกินความจำเป็น แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับกลายเป็นอุปสรรคและอันตรายต่อชีวิต เมื่อคนเราอยู่ในภาวะตึงเครียด ร่างกายก็จะเกิดความเตียมพร้อมที่จะ “สู้” หรือ “หนี” โดยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆเช่น
  1. หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้น เพื่อฉีดเลือดซึ่งจะนำอ๊อกซิเจนและสารอาหารต่างๆไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย พร้อมกับขจัดของเสียออกจากกระแสเลือดอย่างเร็ว
  2. การหายใจดีเร็วขึ้น แต่เป็นการหายใจตื้นๆ
  3. มีการขับครีนาลีนและฮอร์โมนอื่นๆเข้าสู่กระแสเลือด
  4. ม่านตาขยายเพื่อให้ได้รับแสงมากขึ้น
  5. กล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อเตรียมการเคลื่อนไหว เตรียมสู้หรือหนี
  6. เส้นเลือดบริเวณอวัยวะย่อยอาหารหดตัว
  7. เหงื่อออก เพราะมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น
เมื่อวิกฤตการณ์ผ่านพ้นไปร่างกายจะกลับสู่สภาวะปกติ แต่ความเครียดที่เป็นอันตราย ก็คือความเครียดที่เกิดขึ้นมากเกินความจำเป็น เมื่อเกิดแล้วคงอยู่เป็นประจำ ไม่ลดหรือหายไปตามปกติ หรือเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุการณ์ที่เป็นการคุมคามจริงๆ

ผลของความเครียดต่อชีวิต

ผลต่อสุขภาพทางกาย ได้แก่ อาการไม่สบายทางกายต่างๆเช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย ความผิดปกติของหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ อาการท้องผูกท้องเสียบ่อยๆ นอนไม่หลับ หอบหืด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ

ผลต่อสุขภาพจิตใจ นำไปสู่ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า กลัวอย่างไรเหตุผล อารมณ์ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย หรือโรคประสาทบางอย่าง

นอกจากนี้ความเครียดส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ ย่อมส่งผลไปถึง ประสิทธิภาพในการทำงาน สัมพันธภาพต่อครอบครัวและบุคคลแวดล้อม และเมื่อประสิทธิภาพในงานตกต่ำ สัมพันธภาพเสื่อมทรามลง จิตใจย่อมได้รับผลตึงเครียดมากขึ้นซ้ำซ้อน นับว่าความเครียดเป็นภัยต่อชีวิตอย่างยิ่ง

สาเหตุของความเครียด

  1. สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น มลภาวะ ได้แก่ เสียงดังเกินไป จากเครื่องจักร เครื่องยนต์ อากาศเสียจากควันท่อไอเสีย น้ำเสีย ฝุ่น ละออง ยาฆ่าแมลง การอยู่กันอย่างเบียดเสียด ยัดเยียดเป็นต้น
  2. สภาพเศรษฐกิจที่ไม่น่าพอใจ เช่นรายได้น้อยกว่ารายจ่าย
  3. สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น การสอบแข่งขันเข้าเรียน
  4. เข้าทำงาน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น
  5. นิสัยในการกิน-ดื่ม ที่ส่งเสริมความเครียด เช่น ผู้ที่ดื่มกาแฟบ่อยๆ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ตลอดจนกินของกินที่มีน้ำตาลมากๆ
  6. มีสัมพันธภาพกับคนอื่นๆที่ไม่ราบรื่น มักมีข้อขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นเป็นปกติวิสัย
  7. ความรู้สึกตนเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น ต้องพยายามต่อสู้เอาชนะ
  8. ต้องการมีอำนาจเหนือผู้อื่น
นอกจากนี้ความเครียด ยังอาจเกิดจากอุปนิสัยหรือวิธีการดำเนินชีวิต ของคนบางคนที่มีลักษณะต่อไปนี้
  1. คนที่ชอบแข่งขันสูง ชอบท้าทาย ชิงดีชิงเด่นเอาชนะ
  2. คนที่เข้มงวด เอาจริงเอาจังกับทุกอย่างไม่มีการผ่อนปรน
  3. คนที่พยายามทำอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน
  4. คนที่มีอารมณ์รุนแรงอัดแน่นในใจเป็นประจำ
  5. คนที่ใจร้อน จะทำอะไรต้องให้ได้ผลทันทีไม่ชอบรอนาน

การลดความเครียด

วิธีลดความเครียดมีหลายวิธี
  1. วิธีแก้ไขที่ปลายเหตุ ได้แก่ การใช้ยา เช่น ยาหม่อง ยาดม ยาแก้ปวด ยาลดกรดในกระเพาะ ยากล่อมประสาท แต่วิธีการดังกล่าวไม่ได้แก้ไขความเครียดที่ต้นเหตุ อาจทำให้ความเครียดนั้นเกิดขึ้นได้อีก วิธีที่ดีที่สุดคือ
  2. วิธีแก้ไขที่ต้นเหตุ ได้แก่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เอื้ออำนวยให้เกิดความเครียด เช่น งานอดิเรกที่ชอบ ฝึกออกกำลังกาย บริหารร่างกายแบบง่ายๆ เป็นต้น
  3. เปลี่ยนแปลงนิสัยและทัศนคติต่อการดำเนินชีวิต เช่น ลดการแข่งขัน ผ่อนปรน ลดความเข้มงวด ในเรื่องต่างๆ
  4. หาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ เช่น รู้ว่าอาหาร เครื่องดื่มบางประเภท ช่วยส่งเสริมความเครียด
  5. สำรวจและเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อตัวเองและผู้อื่น เช่น มองตัวเองในแง่ดี มองผู้อื่นในแง่ดี
  6. สำรวจและปรับปรุง สัมพันธภาพต่อคนในครอบครัวและสังคมภายนอก
  7. ฝึกผ่อนคลายโดยตรง เช่น การฝึกหายใจให้ถูกวิธี การฝึกสมาธิ การออกกำลังกายแบบง่ายๆ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวด การสำรวจ ท่านั่ง นอน ยืน เดิน การใช้จินตนาการ นึกภาพที่รื่นรมย์
เมื่อคุณเกิดความเครียดขึ้นมา ลองพยายามนึกทบทวนดูว่า เกิดจากสาเหตุอะไร และเลือกใช้วิธีลดความเครียดดังที่กล่าวมา วิธีใด วิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน อาจทำให้ความเครียดผ่อนคลายหรือไม่เครียดเลยก็ได้ ขอให้ทุกคนโชคดีอย่าได้มีความเครียดเลย

การทำงานของสมอง



สมองสองซีก

โดย. อ.มุนีร มูหะหมัด

          สมองของคนเราเมื่อพิจารณาดูการทำงานแล้วแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ ซีกซ้าย และ ซีกขวา ตามความรู้เก่าสมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่ด้านการใช้เหตุผล ภาษาและคณิตศาสตร์ ขณะที่สมองซีกขวาจะทำหน้าที่ด้านศิลปะ ดนตรี จินตนาการ และมิติสัมพันธ์ จึงทำให้เชื่อว่า คนที่เล่นกีฬาเก่งจะอ่อนด้อยด้านศิลปะ ดนตรี ในทางตรงกันข้ามคนที่เป็นศิลปินมักจะเอาอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล 

         การศึกษาในภายหลังพบว่า การทำงานสมองจะเป็นลักษณะการทำงานร่วมกัน ทั้งสมองซีกซ้ายและซีกขวา ดังนั้นคนเราจึงสามารถใช้จินตนาการ ดนตรี ศิลปะ และมิติสัมพันธ์ มาส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการใช้เหตุผล ภาษาและคณิตศาสตร์ได้  การเรียนรู้แบบใหม่จึงเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเอาศิลปะมาเสริมกับวิชาการ หรือเอาระบบการคิดแบบมีเหตุผลมาใช้กับดนตรี การเรียนรู้วิธีนี้น่าจะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ่ง เพราะสมองซีกขวาจะมาทำให้การทำงานของสมองซีกซ้าย มีความเพลิดเพลินยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ครูสามารถสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นไปในทางสร้างสรรค์ แทนที่จะคร่ำเคร่งอยู่กับตัวเลข ข้อมูลในการเรียนการสอนตามหนังสือ  แต่หันมาคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ และสื่อการสอนในรูปแบบที่ทันสมัย

          ด้วยการศึกษายุคใหม่ ทำให้ค้นพบความจริงที่ว่า สมองของวัยรุ่นยังพัฒนาไปได้อีกไกล เมื่อได้ใช้ช่วงวัยให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษา  ด้วยช่วงแห่งการเรียนรู้นี่เอง ได้ครอบคลุมทั้งสองส่วนของ “ปัญญาภายนอก” ซึ่งหมายถึง ความรู้และทักษะต่างๆที่มีความหลากหลาย ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พหุปัญญา”(Multiple Intellizent) ปัญญาภายใน คือ “ความสามารถในการควบคุมตนเอง" และลักษณะพิเศษของบุคคลหรือที่เรียกกันว่า EI หรือ IQ บ้าง (Emotional Intellzent) ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของตนเอง เข้าใจผู้อื่น และสามารถปรับอารมณ์ เพื่อให้มีการใช้ชีวิตในสังคมอย่างปรกติ .

          ทั้งนี้ เพราะสมองใหญ่ของคนเราจะประกอบด้วย “สมองส่วนคิด”(Cerebral Cortex) และ สมองส่วนอยาก(Limbic System) ซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณและอารมณ์ การเติบโตของปัญญาภายนอกเป็นผลมาจากการเรียนรู้ หรือสมองส่วนคิดในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ในขณะที่ปัญญาภายในเป็นผลมาจากการเรียนรู้ในการจัดเก็บสัญชาติญาณ และอารมณ์อันเป็นความต้องการภายใน นั่นคือ สมองมีศักยภาพในการพัฒนาปัญญาภายนอกและปัญญาภายในไปพร้อมกัน 


         สรุปแล้ว สมองทั้งสองส่วนไม่มีวันแยกกันอย่างแน่นอน แต่สิ่งสำคัญคือ เราจะจัดการควบคุมการทำงานของสมองอย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพสูงสุดในการสร้างสรรค์ พัฒนาให้อยู่ในแนวทาง ที่ถูกต้อง ชอบธรรม ตามหลักจริยธรรม และเป็นประโยชน์ 
        ดังเช่นการใช้สมองของนักคิด นักวิทยาศาสตร์ในอดีต เช่น อิบนิซีนา (Aviccenne) นักปรัชญาและนายแพทย์ อิบนิรุชด์ (Averroes) นักศาสนา นักเคมี และนายแพทย์ อิบนิคอลดูน นักสังคมศาสตร์ กาลิเลโอ (Galileo) ผู้ค้นพบระบบสุริยจักรวาล นิวตัน (Newton)ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง หลุยส์ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)นักเคมีผู้ค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ไม่ใช่ผู้ที่ใช้ความฉลาดปราดเปรื่องของสมองไปในการฉ้อฉล การฉวยโอกาส เบียดเบียน ใส่ร้ายป้ายสี คดโกงผลประโยชน์แบบซ้อนเร้น ผลประโยชน์ทับซ้อน เล่นการพนัน ค้ายาเสพติด ค้าอาวุธสงคราม และการหาผลประโยชน์ส่วนตนโดยไม่สมควร ขัดต่อหลักคุณธรรมและจริยธรรม
อ้างอิง : http://www.islammore.com/view/2490

ข้อดีของการอ่านหนังสือ

http://i.huffpost.com/gen/1821839/images/o-READ-OUTSIDE-facebook.jpg

          การอ่านในยุคนี้สมัยนี้ ต้องบอกว่าไม่ได้จำกัดกับการอ่านจาก หนังสือ อีกต่อไปอีกแล้ว เพราะตอนนี้เราสามารถเราสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกเรื่องที่เราอยากจากอ่านจากมือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเบล็ตของเรา แต่ผมคนนึงและครับที่ยังจะชอบการอ่านแบบออริจินัลคืออ่านจากหนังสือมากกว่าอยู่ดี ซึ่งการอ่านหนังสือเป็นประจำนั้นมีข้อดีมากมายจะมีอะไรบ้างไปดูกันครับ

1.อ่าน “นิยาย” ทำให้สมองทำงานดีขึ้นไปหลายวัน
ผลการศึกษาของ Emory University บอกว่าการอ่านนิยาย การอ่านหนังสือ ทำให้การเชื่อมต่อของสมองและการทำงานกับส่วนต่างๆ กล้ามเนื้อสมองส่วนต่างๆ ดีขึ้น เพราะเมื่อเราเข้าไปอยู่ในโลกของคนเขียนและต้องมองภาพตาม จินตนาการตาม นั่นคือการกระตุ้นการทำงานของสมองชั้นดี


2.อ่านหนังสือช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม
การอ่านหนังสือ ก็คือ การออกกำลังกายของสมอง และนั่นทำให้เป็นการป้องกันโรคเกี่ยวกับสมอง อย่าง อัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมได้ดี

 
3.อ่านหนังสือช่วยลดความเครียด
University of Sussex บอกว่าการเริ่มอ่านหนังสือไปได้เพียงแค่ 6 นาทีก็เริ่มลดความตึงเครียดได้ เพราะฉะนั้น การอ่านหนังสืออาจจะคลายเครียดได้ดีกว่าการฟังเพลง หรือเดินเล่นเสียด้วยซ้ำ

 
4.อ่านหนังสือช่วยให้คุณ “หลับสบายขึ้น”
อ่านหนังสือทำให้ใจเย็นลง นอกจากนี้ หากแสงไฟทำให้ร่างกายรู้สึกว่าต้องตื่น การอ่านหนังสือในแสงนุ่มๆ อ่อนๆ ก็ทำให้ร่างกายรู้ว่าถึงเวลาจะต้องพักผ่อนและหลับเช่นกัน

 
5.อ่านหนังสือช่วยให้คุณเข้าใจคนอื่นมากขึ้น
แม้จะเป็นเรื่องจริง หรือไม่จริงก็ตาม หากคุณอ่าหนังสือ คุณจะเหมือนถูกดึงเข้าไปอยู่ในโลกๆ นั้นของหนังสือ และทำความเข้าใจราวกับเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่เขียนขึ้นมา และทำให้คุณเข้าใจคนอื่นๆ มากขึ้น ซึ่งสามารถส่งผลต่อชีวิตจริงของคุณได้เช่นกัน

 
6.หนังสือแนวแนะนำการใช้ชีวิต ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้จริง
การศึกษาหนึ่ง นำเอาคนที่เป็นโรคซึมเศร้า มาอ่านหนังสือแนวแนะนำการใช้ชีวิต ฮาวทู ต่างๆ พบว่ามันช่วยลดอาการซึมเศร้าได้จริงๆ

 
7.อ่านหนังสือทำให้คุณมีเสน่ห์ขึ้น
ผลการศึกษาชี้ว่า การอ่านหนังสือทำให้คนรู้สึกว่าคุณมีความคิด ความอ่าน และฉลาด ซึ่งนำไปสู่ความคิดที่ว่าคุณมีเสน่ห์มากกว่า ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะเด่นๆ ที่ผู้หญิงส่วนมากมองว่าผู้ชายเซ็กซี่เลยล่ะ

 

8.ส่วนมากคนที่อ่านหนังสือจะมีเป้าหมายชีวิตชัดเจน
โดยเฉพาะการอ่านหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนที่ประสบความสำเร็จ มักส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจให้คนที่อ่าน อยากทำตาม ดำเนินรอยตาม และตั้งเป้าชีวิตของตนเองเช่นกัน

 
9.คนที่อ่านหนังสือ จะยอมรับความต่างทางวัฒนธรรมได้ดีกว่า
การศึกษาของ National Endowment for the Arts ชี้ว่า คนที่อ่านมาก จะรู้มากและเข้าใจความต่างทางวัฒนธรรม และมีแนวโน้มที่จะยอมรับในความแตกต่างนั้นๆ ได้ดีกว่า

 
10.อ่านหนังสือ ผ่อนคลายและช่วยบรรเทาได้พอๆ กับการฟังเพลงหรือดูหนัง
หากคุณเจอเรื่องเครียดๆ มา อ่านหนังสือช่วยได้ และนอกจากนี้ The American University บอกว่า หากคุณอ่านหนังสือ และเจอตัวละครหรือบทบาทใดที่เจอเรื่องคล้ายๆ คุณ อาจจะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณควรทำอย่างไรให้ผ่านเรื่องร้ายๆ ไปได้


11.อ่านหนังสือ จะมีความจำที่ดีกว่า ฉลาดกว่า
เพราะการอ่านหนังสือคือการออกกำลังกายสมอง ทุกครั้งที่อ่าน คุณจะมีความทรงจำใหม่ สมองจะได้ทำงาน และฝึกฝนความจำได้ดีขึ้นนั่นเอง


12.อ่านหนังสือทำให้คุณรู้คำศัพท์มากขึ้น
Rhode Island Hospital เปรียบเทียบคำศัพท์ที่เด็กเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ด้วยการลองเทียบเด็กสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้มีคนอ่านหนังสือให้ฟัง กลุ่มสองไม่มีคนอ่านให้ฟัง พบว่าเด็กกลุ่มแรกรู้ศัพท์เพิ่มขึ้น 40% กลุ่มที่สองแค่ 16% เท่านั้น

 
13.อ่านหนังสือทำให้คุณเขียนดีขึ้น
การอ่านหนังสือมากๆ โดยเฉพาะหนังสือดีๆ การเขียนของคุณจะดีขึ้นตามไปด้วย ไม่ต่างจากการฟังเพลงดีๆ มากมาย และส่งผลต่อการเขียนเพลง ทำเพลงของนักดนตรี

 
14.คนอ่านหนังสือมีแนวโน้มชอบออกกำลังกาย
จากการสำรวจพบว่า คนชอบอ่านหนังสือ จะชอบออกกำลังกายด้วย นั่นคือข้อดีที่นอกจากคุณจะได้ความรู้แล้ว ร่างกายยังแข็งแรงอีกด้วย!
 

15.คนอ่านหนังสือมากมีแนวโน้มช่วยสังคม
นอกจากชีวิตคุณเองจะดีแล้ว คนที่อ่านหนังสือยังอยากพัฒนาชีวิตคนอื่นๆ ซึ่งส่วนมากคนพวกนี้จะชอบทำงานอาสาสมัครและการกุศลอีกด้วย เพราะคนที่อ่านมาก จะเข้าใจชีวิตคนอื่นมากกว่า โดนเฉพาะคนที่แย่กว่านั่นเอง

 
16.คนอ่านหนังสือจะใจกว้าง
ผลการศึกษาใน the Creativity Research Journal ระบุว่า คนที่อ่านหนังสือมากๆ มีแนวโน้มที่จะเปิดรับและเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ดีกว่า และมากกว่าคนที่ไม่อ่านหนังสือเลย

 
17.การอ่านทำให้เรียนภาษาง่ายขึ้น
ผลจากการศึกษาในหลายๆ ที่พบว่า การอ่านทำให้สมองในซีกที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านภาษาทำงานได้ดีขึ้น


18.การอ่านทำให้คุณเป็นคนฟังที่ดีขึ้น
การฟัง คือสิ่งที่สำคัญมากๆ ในหลายๆ ด้านชองชีวิต ตั้งแต่เรื่องความสัมพันธ์จนถึงเรื่องวิชาการ และการอ่านจะช่วยคุณให้ฟังได้เข้าใจขึ้น ง่ายขึ้น จดจำได้ดีขึ้น เพราะคุณรู้ศัพท์มากกว่า เข้าใจได้ง่ายกว่านั่นเอง


19.อ่านมากยิ่งเป็นคนสร้างสรรค์มาก
เมื่อผู้สอนที่ Obafemi Awolowo University นำการสอนแบบให้เด็กเล็กได้อ่านการ์ตูนนั้น พบว่าเด็กมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

 
20.พ่อแม่ที่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง จะมีความสัมพันธ์กับลูกที่ใกล้ชิดมากขึ้น
นักจิตวิทยาบอกว่า การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจะสร้างสายใยระหว่างพ่อแม่ลูกได้ดีมาก และแน่นอนว่าดีกว่าการให้ลูกดีทีวี หรือเล่นคอมพิวเตอร์แน่นอน

 
21.อ่านหนังสือมากมีแนวโน้มการเงินมั่นคง
จากการสำรวจพบว่า ผู้ใหญ่ที่ไม่อ่านหนังสือ 43% มีชีวิตอยู่ในความยากจน ส่วนคนที่อ่านหนังสือเป็นประจำนั้น 4% เท่านั้นที่ยากจน


22.เด็กที่ชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ ไม่จำเป็นต้องหยังสือเรียนนั้น มีแนวโน้มเรียนดีกว่า
เพราะเด็กพวกนี้จะมีการฝึกสมองอยู่เป็นประจำ ความจำดี เรียนรู้ศัพท์ได้มากกว่า นั่นทำให้มีแนวโน้มเรียนดีกว่าในโรงเรียน


23.อ่านหนังสือช่วยให้นักโทษไม่กลับไปทำผิดอีก
จากการศึกษาพบว่า นักโทษที่อ่านหนังสือในคุก และผ่านคอร์สการอ่านเพื่อบำบัดนักโทษ มีแนวโน้มไม่ทำผิดอีกเมื่อออกจากคุกเพิ่มขึ้น 30% ทำให้บางประเทศ อาทิ บราซิล เสนอให้มีการลดโทษ หากนักโทษเลือกที่จะอ่านหนังสือระหว่างติดคุก



ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการอ่านหนังสือ


   ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการอ่านหนังสือ  เป็นช่วงที่สมองของเราจะสามารถจดจำสิ่งที่เราอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องเป็นช่วงที่สมองปลอดโปร่ง  ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ  พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ  นั้นคือช่วงเวลาประมาณตี 5 – 10 โมงเช้าคะ  อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เช้าไปสักหน่อย  แต่ในช่วงนี้เป็นช่วงที่สมองปลอดโปร่ง เพราะได้รับการพักผ่อนแล้วอย่างเพียงพอ และยังเป็นช่วงเวลาที่เงียบสงบ ทำให้เรามีสติมากที่สุดด้วยคะ
    แต่ถ้าใครจะมาอ่านหนังสือในช่วงบ่าย “อย่า” เลยนะคะ !!  เพราะในช่วงบ่ายสมองอาจจะเหนื่อยล้า ปนกับความขี้เกียจของเราไปแล้วด้วยคะ  แต่ถ้าใครจะอ่านละก็จะต้องใส่ความพยายามเข้าไปเยอะๆ เลยนะคะ
    ส่วนในช่วงหัวค่ำ เป็นอีกช่วงเวลาทองที่เราจะสามารถกลับมาอ่านหนังสือได้อีกครั้งหนึ่งคะ คือช่วง 1 ทุ่ม – 2 ทุ่ม  เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่สมองจะกลับมาตื่นตัวอีกครั้ง  แต่ยังไงก็ตามประสิทธิผลก็อาจจะยังสู้ช่วงเช้าไม่ได้คะ 
    ขณะที่ช่วงดึกเวลา 5 ทุ่มขึ้นไป เราจะต้องพักกันแล้วนะคะ  เพราะสมองจะทำงานน้อยลงและมีความเหนื่อยล้ามาก    ดังนั้น ต้องพักและค่อยตื่นมาอ่านอีกทีในช่วงเช้า
    ทั้งนี้  หากใครไม่เคยชินกับการอ่านหนังสือในตอนเช้า  ตื่นไม่ไหว ...  อาจจะลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  “เข้านอนไวและพยายามตื่นให้เช้า”  (ลองดูนะคะ .. เพราะมีข้อพิสูจน์ออกมาแล้วว่า  คนเราสามารถสร้างนิสัยใหม่ๆ ได้ด้วยการกระทำพฤติกรรมนั้นๆ ติดต่อกันประมาณ 3 สัปดาห์  และพอหลังจากนั้นก็จะกลายเป็นกิจวัตรที่เราไม่ต้องฝืนมันอีกเลยละคะ